วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บุหรี่




บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ (ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา (en:marijuana)

บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน

สารเคมีในบุหรี่
ไส้บุหรี่นั้น ทำจากใบยาสูบตากแห้ง นำไปผ่านกระบวนการทางเคมี และมีการเพิ่มสารอื่น ๆ ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งในจำนวนนั้นมีสารเคมีจำนวนมากที่เป็นสารพิษ สารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (en:mutagenic) และสารก่อมะเร็ง (en:carcinogen) สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบได้แก่
อะซีโตน (Acetone)
อะลูมิเนียม (Aluminiam)
แอมโมเนีย (Ammonia)
สารหนู (Arsenic)
เบนซีน (Benzene)
บิวเทน (Butane)
แคดเมียม (Cadmium)
คาเฟอีน (Caffeine)
คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)
คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide)
คลอโรฟอร์ม (Chloroform)
ทองแดง (Copper)
ไซยาไนด์/ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Cyanide/Hydrogen cyanide)
ดีดีที/ดีลดริน (DDT/Dieldrin)
เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethenol)
ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)
ตะกั่ว (Lead)
แมกนีเซียม (Magnesium)
มีเทน (Methane)
เมทิลแอลกอฮอล์ (Methanol)
ปรอท (Mercury)
นิโคติน (Nicotine)
พอโลเนียม (Polonium)
ทาร์ (Tar)
ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride)
โพแทสเซียมไนเตรต (Potassium nitrate)

ผลต่อสุขภาพ
การสูบบุหรี่และยาสูบอื่น ๆ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งปอด (ประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่) นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของโรคปอดอื่น ๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง (en:emphysema) หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และเด็กที่คลอดออกมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสของอาการหัวใจวาย และโรคมะเร็งประเภทอื่น ๆ อีกด้วย ผู้สูบบุหรี่อาจดูแก่กว่าปกติเนื่องจากควันบุหรี่จะเพิ่มรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนัง เนื่องจากการสูบบุหรี่มีผลเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม ดังนั้นอาจส่งผลให้ผู้สูบมีน้ำหนักลดลง

นิโคติน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นประสาท (en:stimulant) ในบุหรี่นั้น มีผลเป็นสารเสพติด (en:addictive) และลดการอยากอาหาร (en:appetite suppressant) ผู้ที่เลิกการสูบบุหรี่มักจะทดแทนอาการอยากบุหรี่ด้วยการกินขนม ซึ่งส่งผลให้หนึ่งในสามของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นนิโคตินยังอาจเป็นสารพิษ หากเด็กหรือสัตว์รับประทานก้นบุหรี่โดยอุบัติเหตุ

โอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดจากการสูบควันนั้นไม่แน่นอน ขึ้นกับลักษณะของการสูบ สารที่สูบ และความถี่ จากสถิติพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสจะเป็นโรคมะเร็งปอดประมาณ 11-17% [1] หรือ 10-20 เท่าของคนที่ไม่สูบ [2] การสูดสารพิษและสารก่อมะเร็งจากควันบุหรี่ เช่น เรดอนและเรเดียม-226 เชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็ง ไร่ยาสูบในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี เนื่องจากการใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณฟอสเฟตสูง

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88

ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่



1. การหยุดสูบบุหรี่เป็นผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก และเป็นผลดีที่เกิด
ขึ้นได้ทันที ที่เลิกสูบทั้งในเพศ
หญิงและชาย ในทุกกลุ่มอายุไม่ว่าจะป่วยด้วยโรค
จากการสูบบุหรี่แล้วหรือไม่ก็ตาม
2. ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ จะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ต่อไป โดยผู้
ที่เลิกสูบบุหรี่ก่อนอายุ 50 ปีจะมีโอกาสเสียชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่ยังคงสูบต่อไป
เมื่อทั้งสองกลุ่มมีอายุ 65 ปี
3. การเลิกสูบบุหรี่ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งในระบบอื่นๆ
หัวใจวายกระทันหัน เส้นเลือดในสมองตีบตันกะทันหัน โรคถุงลมโป่งพอง และ
โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ
4. ผู้หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์หรือระหว่าง 3 - 4 เดือนแรกของการ
ตั้งครรภ์ จะลดความเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
5. ผลดีที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพจากการหยุดสูบบุหรี่มีมาก น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 2.3 กิโลกรัม
6. ในการหยุดสูบบุหรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป ความเสี่ยงของการ
ที่จะเสียชีวิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว

การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งทางเดินระบบหายใจ
1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคง
สูบบุหรี่ต่อไป โดยพบว่าหลังจากการหยุดสูบ10 ปี ความเสี่ยงของการเกิด
มะเร็งปอดจะเท่ากับร้อยละ 30-50 ของผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปและอัตราเสี่ยง
ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากหยุดสูบบุหรี่เกิน 10 ปี
2. การลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ พบทั้งในเพศชาย
และหญิงทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ชนิดก้นกรองและชนิดที่ไม่มีก้นกรอง
3. การหยุดสูบบุหรี่ อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำคอและกล่องเสียงเมื่อ
เทียบกับผู้ที่ยังสูบบุหรี่ต่อไป
4. การหยุดสูบบุหรี่ลดความผิดปกติที่จะกลายไปเป็นมะเร็งในระยะแรกของ
เยื่อบุลำคอ กล่องเสียง และปอด

การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
1. หลังจากหยุดสูบบุหรี่เป็นเวลา 5 ปี อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในช่องปาก
และหลอดอาหารส่วนต้น จะลดลงครึ่งหนึ่ง เทียบกับคนที่ยังสูบบุหรี่ต่อไป และ
อัตราเสี่ยงยังคงลดลงต่อเนื่องหลังจากหยุดสูบบุหรี่เกิน 5 ปี
2. การหยุดสูบบุหรี่ ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับอ่อน เมื่อเทียบกับผู้ที่
ยังคงสูบต่อไป แต่การลดลงของความเสี่ยงนี่จะพบหลังจากหยุดสูบบุหรี่เกิน
10 ปีขึ้นไป
3. อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมากในหญิงที่เลิกสูบ
บุหรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปแม้ว่าจะหยุดสูบไปเพียง 2-3 ปี ข้อมูล
นี้เป็นการสนับสนุนว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

การหยุดสูบบุหรี่กับมะเร็งนอกระบบทางเดินหายใจ
1.การหยุดสูบบุหรี่ ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันทั้งใน
เพศชายและเพศหญิง ในทุกกลุ่มอายุ เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป
2. อัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันลดลงครึ่งหนึ่ง หลังจากหยุด
สูบบุหรี่ครบ 1 ปี และจะลดลงอย่างช้าๆต่อไป หลังจากหยุดสูบบุหรี่เป็นเวลา
15 ปี ความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันจะเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบ
บุหรี่
3. ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน การหยุดสูบบุหรี่จะ
ลดโอกาสของกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโอกาสเสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ลง
เป็นอย่างมาก รายงานการวิจัยพบว่าโอกาสจะเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควรลดลง
ถึงร้อยละ 50
4. การหยุดสูบบุหรี่ ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดตีบตันของส่วนอื่นๆ ของ
ร่างกาย เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป
5. ในผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดตีบตันที่ขา การหยุดสูบบุหรี่ช่วยทำให้เดินได้นานขึ้น
ลดโอกาสที่จะถูกตัดขา หลังจากการผ่าตัดเส้นเลือด และอัตราการรอดชีวิตสูง
ขึ้น
6. หลังการหยุดสูบบุหรี่ลดโอกาสของการเป็นลมปัจจุบันเนื่องจากเส้นเลือด
สมองตีบและแตก ความเสี่ยงนี้จะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ภายในเวลา
5 ปี แต่ในบางรายต้องหยุดสูบบุหรี่ภายในเวลา 15 ปี ความเสี่ยงจะลดลงเท่า
กับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่

การหยุดสูบบุหรี่และโรคปอดชนิดอื่นๆ
1. การหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดอาการไอ ลดจำนวนเสมหะ ลดการหายใจมีเสียง
วี๊ด และลดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่นหลอดลมอักเสบ และ
ปอดบวม เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป
2. ในผู้ทียังไม่เกิดอาการของดรคถุงลมโป่งพอง การหยุดสูบบุหรี่จะทำให้
สมรรถภาพของปอดดีขึ้นร้อยละ 5 ภายใน 2-3 เดือนหลังจากเลิกสูบบุหรี่
3. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่อย่างถาวร อัตราการเสื่อมของปอดจะชลอตัวลง จนเท่ากับ
ความเสื่อมที่เกิดในผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่
4. ในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ได้อย่างถาวร อัตราการเสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพอง
จะลดลง เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป

การหยุดสูบบุหรี่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
1. น้ำหนักตัวเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่เท่ากับ 2.3 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนัก
ที่เพิ่มขึ้นขนาดนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่ประการใด
2. ร้อยละ 80 ของผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่มีเพียงร้อยละ 3.5
เท่านั้นที่หยุดสูบบุหรี่แล้วมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 9 กิโลกรัม สาเหตุที่น้ำหนัก
ตัวเพิ่มสูงขึ้น เกิดจากการกินอาหารที่มากขึ้นและการเผาผลาญพลังงานที่น้อย
ลงหลังการหยุดสูบบุหรี่
3. การออกกำลังกายสม่ำเสมอปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยลดอาหาร
ไขมัน อาหารทอด จะช่วยทำให้ควบคุมน้ำหนักได้

การหยุดสูบบุหรี่และการเจริญพันธุ์
1. ผู้หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์ จะทำให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักตัว
ใกล้เคียงกับบุตรที่เกิดจากแม่ที่ไม่เคยสูบบุหรี่
2. หญิงตั้งครรภ์ที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนอายุครรภื 30 อาทิตย์ จะให้กำเนิดบุตรที่
น้ำหนักตัวมากกว่าหญิงที่สูบบุหรี่ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์
3. การวิจัยพบว่าถึงจะลดจำนวนบุหรี่ที่สูบระหว่างการตั้งครรภ์ บุตรที่คลอดออก
มาก็จะมีน้ำหนักตัวน้อยเหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ลดจำนวนบุหรี่ที่สูบ
4. การสูบบุหรี่จะทำให้ประจำเดือนของสตรีหมดเร็วขึ้น 1-2 ปี ในผู้ที่หยุดสูบ
บุหรี่ อายุที่ประจำเดือนหมดจะใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และพฤติกรรมหลังการสูบบุหรี่
1. ในระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่ สูบมักจะมีความกังวล หงุดหงิด อารมณ์
ร้อน โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ อยากอาหารเพิ่มมากขึ้น และมีความอยากที่จะสูบ
บุหรี่อยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้จะหายไปในระยะเวลาอันสั้น แต่ความอยาก
สูบบุหรี่และความรู้สึกว่ารสชาติอาหารดีขึ้น จะยังคงมีอยู่ต่อไปอีกซักระยะหนึ่ง
2. ในระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่ สมรรถภาพของการทำงานง่ายๆหลาย
อย่างที่ใช้สมาธิจะลดลงเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ไม่พบว่ามีความผิดปกติของ
ความจำ และความสามารถในการเรียนรู้และการทำงานที่ใช้ความสามารถ
สูงอื่นๆภายหลังการหยุดสูบบุหรี่
3. เมื่อเทียบระหว่างที่สูบบุหรี่กับผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ไปแล้ว พบว่าผู้ที่หยุดสูบบุหรี่
ได้สำเร็จมีความชื่อมั่นในตัวเองสูงกว่า และสามารถควบคุมตัวเองได้ดีกว่า
ผู้ที่ยังเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้
4. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่แล้ว มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอื่นๆ
มากกว่าผู้ที่ยังสูบบุหรี่อยู่ต่อไป


ที่มา http://www.thailabonline.com/tobacco1.htm

ควันบุหรี่มีผลต่อบุคคลข้างเคียง


ควันบุหรี่มีผลต่อบุคคลข้างเคียง

เด็ก
ทำให้เด็กในครอบครัวป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด หูชั้นนอกอักเสบเพิ่มมากขึ้น

หญิงมีครรภ์
น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์เพิ่มน้อยกว่าปกติและมีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดระหว่างคลอด และหลังคลอดมากเป็น 2 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ และรกลอกตัว ก่อนกำหนดมากขึ้น ลูกที่คลอดจากแม่ที่สูบบุหรี่ อาจจะมีน้ำหนักและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางด้าน สมองช้ากว่าปกติ อาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท, ระบบความจำ

คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่
มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปีคนทั่วไป ควันบุหรี่จะทำให้เกิดอาการเคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะทำให้มีอาการของโรคเพิ่มมากขึ้น

กลยุทธ์รับมือกับอาการอยากบุหรี่

ถ่วงเวลาไว้ DELAY

หายใจลึกๆ ช้า DEEP BREATH

ดื่มน้ำสักแก้ว DRINK WATER

เปลี่ยนอิริยาบถ DO SOMETHING ELSE

ถ่วงเวลา (Delay)
เมื่ออยากสูบบุหรี่ อย่าเพิ่งเปิดซองบุหรี่หรือ จุดบุหรี่ เมื่อผ่านไป 5 นาทีผ่านไป ความอยากจะลดลง แล้วความตั้งใจของคุณที่จะเลิกก็จะกลับมา

หายใจลึกๆ ช้าๆ (Deep breathe)
หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ 3 - 4 ครั้ง

ดื่มน้ำ (Drink water)
ค่อยๆจิบน้ำ และ อมไว้สักครู่ให้รู้รสน้ำแล้วจึงกลืนลงคอ

เปลี่ยนอิริยาบถ (Do something else)
อย่าคิดเรื่องการสูบบุหรี่ เปลี่ยนอิริยาบถไปทำอย่างอื่นเสีย เช่น ฟังเพลง ไปเดินเล่น หรือ ไปหาเพื่อนฝูง

เพียงมวนเดียวก็ผลร้าย
ขอให้ใจแข็ง การกลับไปสูบบุหรี่แม้เพียงมวนเดียวจะเป็นผลทำให้กลับไปสูบใหม่ คุณต้องต่อสู้กับความอยากให้ได้ การเลิกสูบบุหรี่ คือ การต่อสู้กับความอยาก แม้กระทั่งบุหรี่เพียงมวนเดียว และต่อสู้กับจิตใจของคุณเอง

อดเป็นวันๆไป
พยายามตั้งใจให้วันผ่านไปโดยไม่สูบบุหรี่ จำบุหรี่มวนแรกของคุณได้ไหม? บางทีอาจจะทำให้คุณเวียนหัวไม่สบาย ก็ได้ ทำดีต่อร่างกายของคุณให้ปรับสภาพได้โดยไม่ต้องมีนิโคติน

เครื่องดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มประเภทโคล่า
เหล่านี้มีคาเฟอีน แต่ไม่มีนิโคติน การที่ไม่มีนิโคตินทำให้ร่างกายดูดซึมคาเฟอีน เข้าไปมากกว่าธรรมดา ทำให้กระวนกระวายและนอนไม่หลับ พยายามดื่มกาแฟให้น้อยลง หรือ ให้อ่อนลงหรือดื่มเครื่องดื่มคล้ายกาแฟ น้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือไดเอ็ดโคล่าที่ไม่คาเฟอีน

เตือนสติตัวเอง
เอาเหตุผลที่เลิกบุหรี่ที่เคยจดไว้ออกมาดู และคิดถึงสิ่งที่อยากทำให้ฐานะผู้ไม่สูบบุหรี่

ปฏิเสธบุหรี่จากผู้อื่น
อย่าเกรงใจเมื่อผู้อื่นให้บุหรี่คุณ คุณมีสิทธิปฏิเสธบุหรี่โดยไม่ทำให้ใครเดือนร้อน

เมื่อมือว่าง
พยายามใช้มือทำโน่นทำนี่อย่าปล่อยให้มือว่าง เอากุญแจมาขยำ หรือนับลูกประคำก็ได้

การสูบบุหรี่กับสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ มีรายงานการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่จะไม่สามารถต้านทานความอยากสูบบุหรี่ได้เมื่อดื่มเหล้าเข้าไป เหล้าและสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ จะทำให้คุณมีความอดทนต่อความอยากสูบบุหรี่ได้น้อยลง ดังนั้น ขอให้พยายามหลีกเลี่ยง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ สัก 2 - 3 สัปดาห์


ที่มาhttp://www.wing2.rtaf.mi.th/W2DATA/hostpital/tobacco.html

สาเหตุของการติดบุหรี่


สาเหตุของการติดบุหรี่

1 ) ทำตามเพื่อน เพราะเห็นเพื่อน ๆ บางคนสูบโดยอ้างว่าเพื่อจะเข้าสังคมกับเพื่อนได้

2) สภาพแวดล้อมภายในครอบครัวชักนำ เกิดจากสมาชิกบางคนในครอบครัวสูบบุหรี่ เช่น พ่อ แม่ ลุง น้า จึงต้องการเอาอย่างบ้าง 3 ความอยากทดลอง เพราะอยากรู้อยากเห็น

4ื ) ยึดถือค่านิยมผิด ๆ คิดว่าการสูบบุหรี่เป็นการโก้เก๋ หรือเป็นลูกผู้ชาย

5 ) อิทธิพลจากการโฆษณาของสื่อมวลชน ทั้งจากภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์

6) ความเชื้อที่ผิดๆ เช่น เชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่จะทำให้สมองปลอดโปร่ง จิตใจเเจ่มใสและไม่ง่วงนอน เป็นต้น

พิษจากควันบุหรี่

1 . นิโคติน ( Nicotine ) เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ และเป็นสารที่รุนแรงมากที่สุดอย่างหนึ่ง ละลายน้ำได้ดี ไม่มีสี ถ้าสูบบุหรี่ 1 มวน ร่างกายจะได้รับนิโคตินในควันบุหรี่ 0.2 - 2 มิลลิกรัม หากมีอยู่ในร่างกายถึง 70 มิลลิกรัม จะทำให้ถึงแก่ความตายได้ มีผู้ทดลองนำนิโคตินบริสุทธิ์ เพียง 1 หยด ป้ายลงบนผิวหนังกระต่าย มีผลทำให้กระต่ายตัวนั้นช็อกอย่างรุนแรงและถึงแก่ความตาย แม้จะไม่ได้เข้าสู่ภายในร่างกายทางปากหรือทางลมหายใจ
นิโคติน จะทำให้ไขมันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดหัวใจตีบและเกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง ทำให้ความดันสูง หัวใจเต้นเร็วทำลายเนื้อปอดและถุงลมปอดอีกด้วย

2 . ทาร์ ( Tar ) เป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ จะทำลายถุงลมปอดทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง หอบเหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งบริเวณเนื้อเยื่อที่สัมผัสกับสารนี้ ขณะสูบบุหรี่ ทาร์จะตกค้างอยู่ในปอด หลอดลมใหญ่ และหลอดลมเล็ก ประมาณร้อยละ 90 จะขับออกมาพร้อมลมหายใจเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ดังนั้น ทาร์ จึงเป็นตัวการทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานมากก่อนเสียชีวิต ในบุหรี่ 1 มวน มีทาร์ในปริมาณต่างกันตั้งแต่ 2.0 มิลลิกรัม จนถึง 3.0 มิลลิกรัม แล้วแต่ชนิดของบุหรี่

ที่มาhttp://dpc9.ddc.moph.go.th/group/ncd/TOBAC%20ALC/bure.htm

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


โษของบุหรี่
โษของบุหรี่ บุหรี่ ... มหันตภัยร้ายสารประกอบในบุหรี่บุหรี่มีสารประกอบต่างๆ อยู่ประมาณ 4000 ชนิด มีสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารบางชนิดเป็นอันตรายที่สำคัญ คือนิโคติน กดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจ เต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ ปริมาณนิโคตินลดลงได้)ทาร์ หรือน้ำมันดิน สารก่อมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด, กล่องเสียง, หลอดลม. หลอดอาหาร, ไต, กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ร้อยละ 50 ของน้ำมันดิน จะไปจับที่ปอด เกิดระคายเคือง ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะคาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ เกิดการขาดออกซิเจน ทำให้ มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจไฮโดรเจนไซยาไนด์ ก๊าซพิษ ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำโดยเฉพาะตอน เช้าไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซพิษทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย และถุงลม ทำให้ผนังถุงลมบางโป่งพอง ถุงลมเล็กๆ หลายอันแตก รวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองแอมโมเนีย มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอมีเสมหะมากสารกัมมันตรังสี ์ ควันบุหรี่มีสารโพโลเนียม 210 ที่มีรังสีอัลฟาอยู่ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดมะเร็งกล่องเสียงมะเร็งปอดควันบุหรี่มีผลต่อบุคคลข้างเคียงเด็ก ทำให้เด็กในครอบครัวป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด หูชั้นนอกอักเสบเพิ่มมากขึ้นหญิงมีครรภ์ น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์เพิ่มน้อยกว่าปกติและมีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดระหว่างคลอด และหลังคลอดมากเป็น 2 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ และรกลอกตัว ก่อนกำหนดมากขึ้น ลูกที่คลอดจากแม่ที่สูบบุหรี่ อาจจะมีน้ำหนักและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางด้าน สมองช้ากว่าปกติ อาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท, ระบบความจำคู่สมรสของผู้สูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปีคนทั่วไป ควันบุหรี่จะทำให้เกิดอาการเคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะทำให้มีอาการของโรคเพิ่มมากขึ้นกลยุทธ์รับมือกับอาการอยากบุหรี่ถ่วงเวลาไว้ DELAYหายใจลึกๆ ช้า DEEP BREATHดื่มน้ำสักแก้ว DRINK WATERเปลี่ยนอิริยาบถ DO SOMETHING ELSEถ่วงเวลา (Delay) เมื่ออยากสูบบุหรี่ อย่าเพิ่งเปิดซองบุหรี่หรือ จุดบุหรี่ เมื่อผ่านไป 5 นาทีผ่านไป ความอยากจะลดลง แล้วความตั้งใจของคุณที่จะเลิกก็จะกลับมาหายใจลึกๆ ช้าๆ (Deep breathe) หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ 3 - 4 ครั้งดื่มน้ำ (Drink water) ค่อยๆจิบน้ำ และ อมไว้สักครู่ให้รู้รสน้ำแล้วจึงกลืนลงคอเปลี่ยนอิริยาบถ (Do something else) อย่าคิดเรื่องการสูบบุหรี่ เปลี่ยนอิริยาบถไปทำอย่างอื่นเสีย เช่น ฟังเพลง ไปเดินเล่น หรือ ไปหาเพื่อนฝูงเพียงมวนเดียวก็ผลร้าย ขอให้ใจแข็ง การกลับไปสูบบุหรี่แม้เพียงมวนเดียวจะเป็นผลทำให้กลับไปสูบใหม่ คุณต้องต่อสู้กับความอยากให้ได้ การเลิกสูบบุหรี่ คือ การต่อสู้กับความอยาก แม้กระทั่งบุหรี่เพียงมวนเดียว และต่อสู้กับจิตใจของคุณเองอดเป็นวันๆไป พยายามตั้งใจให้วันผ่านไปโดยไม่สูบบุหรี่ จำบุหรี่มวนแรกของคุณได้ไหม? บางทีอาจจะทำให้คุณเวียนหัวไม่สบาย ก็ได้ ทำดีต่อร่างกายของคุณให้ปรับสภาพได้โดยไม่ต้องมีนิโคตินเครื่องดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มประเภทโคล่า เหล่านี้มีคาเฟอีน แต่ไม่มีนิโคติน การที่ไม่มีนิโคตินทำให้ร่างกายดูดซึมคาเฟอีน เข้าไปมากกว่าธรรมดา ทำให้กระวนกระวายและนอนไม่หลับ พยายามดื่มกาแฟให้น้อยลง หรือ ให้อ่อนลงหรือดื่มเครื่องดื่มคล้ายกาแฟ น้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือไดเอ็ดโคล่าที่ไม่คาเฟอีนเตือนสติตัวเอง เอาเหตุผลที่เลิกบุหรี่ที่เคยจดไว้ออกมาดู และคิดถึงสิ่งที่อยากทำให้ฐานะผู้ไม่สูบบุหรี่ปฏิเสธบุหรี่จากผู้อื่น อย่าเกรงใจเมื่อผู้อื่นให้บุหรี่คุณ คุณมีสิทธิปฏิเสธบุหรี่โดยไม่ทำให้ใครเดือนร้อนเมื่อมือว่าง พยายามใช้มือทำโน่นทำนี่อย่าปล่อยให้มือว่าง เอากุญแจมาขยำ หรือนับลูกประคำก็ได้การสูบบุหรี่กับสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ มีรายงานการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่จะไม่สามารถต้านทานความอยากสูบบุหรี่ได้เมื่อดื่มเหล้าเข้าไป เหล้าและสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ จะทำให้คุณมีความอดทนต่อความอยากสูบบุหรี่ได้น้อยลง ดังนั้น ขอให้พยายามหลีกเลี่ยง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ สัก 2 - 3 สัปดาห์หนังสืออ้างอิง : คุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ Quit Because You Can : สถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หนังสืออ้างอิง : "ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบุหรี่" : สถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ที่มาhttp://www.wing2.rtaf.mi.th/W2DATA/hostpital/tobacco.html

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

กาลเวลาหมุ่นเปลี่ยนเวียนไป แต่ความจริงใจยังเหมือนเดิม